Titleist
Amazing Slider Free Version


สร้างห้องไดรฟในบ้านคุณเอง

เรียบเรียงโดย เฉลิมวงศ์ บวรกีรติขจร

29 Aug 2017
  • Shares:

 

     ปีที่ผ่านมานี้ ผมเริ่มสังเกตว่าเทรนด์ในการทำห้องไดรฟภายในบ้านตัวเองเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยสังเกตจากบทความเรื่องการสร้างห้องซ้อมไดรฟในบ้านที่เขียนไปเมื่อต้นปี ซึ่งเป็นบทความที่มีคนเข้ามาอ่านจำนวนมาก และสังเกตจากลูกค้า FlightScope ที่ถามข้อมูลการสร้างห้องไดรฟเข้ามาจำนวนมาก วันนี้ผมเลยขอเขียนอีกตอนให้ละเอียดขึ้น พร้อมข้อมูลการสร้างห้องซ้อมอย่างประหยัดตั้งแต่งบไม่กี่หมื่น จนไปถึงระดับ Golf Simulator หลักล้านครับ

     การมีห้องซ้อมกอล์ฟในบ้าน ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปสนามไดรฟ พัฒนาวงสวิงได้เร็วกว่าซ้อมในสนามไดรฟ ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีแนวโน้มที่สนามไดรฟจะลดลงเรื่อยๆ ลูกซ้อมไดรฟคุณภาพต่ำลง การสร้าง ห้องซ้อมในบ้านแอร์เย็นๆ ใช้ลูกกอล์ฟจริง คุณภาพเดียวกับที่เราใช้ออกรอบ มีความสุขครับ

 

 

     เมื่อนักกอล์ฟตั้งใจที่จะทำห้องซ้อมกอล์ฟในบ้านแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การหาข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็นให้ครบถ้วนก่อนที่จะลงมือสร้าง ซึ่งบทความนี้ ผมจะรวบรวมคำถามที่ผมมักถูกถามบ่อยๆ

     ก่อนที่เราจะสร้างห้องซ้อมไดรฟ ต้องตอบคำถามตัวเองให้ชัดๆ ก่อนว่า เราจะใช้งานห้องซ้อมไดรฟทำอะไรบ้าง ซ้อมกอล์ฟ วิเคราะห์สวิงเบื้องต้น วิเคราะห์สวิงแบบจริงจัง ซ้อมพัตต์ หรือ ออกรอบ หลายๆ คนคิดว่า ห้องซ้อมไดรฟในบ้าน คือ การสร้าง Golf Simulator ให้สามารถออกรอบในบ้านได้ เท่าที่ผมรู้มา การออกรอบในบ้าน กลับเป็นอะไรๆ ที่นักกอล์ฟใช้กันน้อยที่สุด โดยเฉพาะนักกอล์ฟที่เล่น Launch Monitor ระบบเรดาร์ มักไม่ค่อยสนใจที่จะใช้โปรแกรมออกรอบนัก เพราะตัวเลขต่างๆ ของ Launch Monitor มีอะไรให้ค้นหา และนำมาใช้ในการพัฒนาวงสวิงมากกว่า แค่นำมาใช้ออกรอบในบ้าน  

 

     ในบทความนี้ ผมจะใช้เซนเซอร์ที่ไว้จับไม้กอล์ฟและลูกกอล์ฟเป็นสินค้าของแบรนด์ FlightScope เป็นหลัก เพราะผมมองว่า เป็นเครื่องมือที่ให้ความแม่นยำสูง ในราคาที่สมเหตุสมผล เมื่อเทียบกับแบรนด์อื่นๆ และยังมีรุ่นให้เลือกหลายรุ่น จึงสามารถทำงบประมาณให้เป็นขั้นบันไดไปตามงบประมาณของนักกอล์ฟด้วย นอกเหนือกจากนั้นแล้ว การใช้เครื่อง FlightScope จะมีข้อดีตรงที่ว่า หากวันใดวันหนึ่งเราไม่อยากใช้งานห้องซ้อมไดรฟแล้ว เราสามารถนำเครื่อง FlightScope ไปใช้งานตรงส่วนอื่นๆ ได้ ทั้งใน Indoor และ Outdoor แตกต่างจากระบบห้องซ้อมไดรฟในร่มอื่นๆ ที่เวลาไปใช้งาน Outdoor จะไม่สะดวก และความแม่นยำต่ำมาก ไม่ว่าจะเป็นระบบห้องซ้อม Simulator ที่ขนมาติดตั้งแบบอุปกรณ์ครบชุดภายในบ้าน หรือ Launch Monitor ระบบที่ไม่ใช่เรดาร์ 

 

1.ห้องซ้อมราคาประหยัดที่สุด

งบประมาณ  27,900 - 57,800 บาท

ขนาดห้อง กว้าง 3 เมตร ลึก 4.5 เมตร  สูง 2.9 เมตร (ความสูงวัดจากพื้นพรมถึงเพดาน สำหรับนักกอล์ฟที่สูงไม่เกิน 180 ซม. )

 

 

     การสร้างห้องซ้อมราคาประหยัดไว้ในบ้าน หรือสวนภายในบ้านสมัยนี้ทำง่ายมากๆ ครับ เพียงแค่ซื้ออุปกรณ์ 5 อย่างต่อไปนี้ ก็สามารถสร้างห้องซ้อมราคาประหยัดในบ้านคุณเอง

     1.1 FlightScope MEVO ราคา 21,900 บาท

     1.2 ตาข่ายสำเร็จรูปแบรนด์ SKLZ ซึ่งมีหลายขนาด และรับประกันความเหนียวเมื่อตีด้วยไม้อะไรก็ตาม ราคาก็มีตั้งแต่ 6,000 - 15,000 บาท

     1.3 พรมซ้อมไดรฟ ซึ่งมีให้เลือกหลายเกรด ขึ้นอยู่กับความหนาของหญ้า และแผ่นยางที่นำมาใช้ยึดกับแผ่นหญ้า มีตั้งแต่ระดับราคา 5,000 - 8,900 บาท ตัวที่ผมใช้งานและรู้สึกดีจะอยู่ที่ระดับราคาราว 8,900 บาท เวลาซ้อมแล้วลดแรงกระแทกเวลาซ้อมตีเหล็กหรือเวดจ์ ซึ่งต้องลงเหล็กแบบ Hit Down ( ในปัจจุบัน มีพรมราคาถูกๆ ไม่ถึง 5,000 บาท เยอะพอสมควร ส่วนตัวไม่แนะนำ เพราะมันบาง และไม่ค่อยซับแรงกระแทกเวลาลงเหล็ก คนซ้อมบ่อยๆ เสี่ยงต่ออาการบาดจ็บได้ง่าย) 

    1.4 หญ้าเทียมสำหรับปูพื้นช่วงระหว่างพรมซ้อมไดรฟกับตาข่าย เพื่อลดการกระดอนของลูกกอล์ฟตอนตกลงพื้น ใช้ประมาณ 6 ตร.ม. งบประมาณคงราวๆ 3-5 พัน น่าจะเอาอยู่ หญ้าเทียมเราสามารถหาซ้อหาได้ง่ายๆ ใน Home Pro ครับ 

     1.5 ขาตั้งกล้อง พร้อมที่ยึดโทรศัพท์ ของอย่างที่ 5 อาจไม่จำเป็น แต่ผมแนะนำว่า ควรจะมี เพราะ FlightScope MEVO สามารถใช้งานถ่ายวีดีโอสวิงร่วมกับสมาร์ทโฟนได้ดีมาก และงบประมาณราว 2-5 พันเท่านั้น  แล้วแต่คุณภาพและขนาดของขาตั้งกล้อง

     ห้องซ้อมราคาประหยัดแบบที่ 1 เราจะใช้เครื่อง FlightScope MEVO ในการวัดระยะไม้ทั้งถุงที่เราซ้อม ซึ่งเทคโนโลยี MEVO สามารถแทรคได้ตั้งแต่ลูกชิพระยะใกล้ ๆ 5 หลา จนถึงระยะไดรเวอร์ได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะหากใช้ควบคู่กับสติ๊กเกอร์โลหะจะแม่นยำมาก เคยนำไปทดสอบกับเครื่อง Launch Monitor ระดับเรือนแสนของแบรนด์ที่ใช้เทคโนโลยีกล้อง ให้ระยะแม่นยำและทำงานเร็วกว่ามาก ส่วนขาตั้งกล้อง เราจะนำมาใช้ถ่ายสวิงของตัวเรา และหากแสงสว่างเพียงพอ จะสามารถดูวิถีที่ลูกพุ่งออกไปได้ว่า ไปตรงเข้าหาเป้าหมาย หรือไปซ้ายหรือขวา ของเป้าหมาย

 

2 ห้องซ้อมราคาปานกลาง 

งบประมาณ  256,500 - 283,800 บาท

ขนาดห้อง กว้าง 3.8 เมตร ลึก 7 เมตร  สูง 2.9 เมตร (ความสูงวัดจากพื้นพรมถึงเพดาน สำหรับนักกอล์ฟที่สูงไม่เกิน 180 ซม. )

 

     ห้องซ้อมราคาปานกลาง เป็นห้องซ้อมที่ต้องการข้อมูลการซ้อมที่มากขึ้น ซ้อมแบบจริงจังมากขึ้น โดยเครื่องแทรคลูกกอล์ฟที่แนะนำสำหรับห้องซ้อมลักษณะนี้ จะเป็น FlightScope Xi+ ซึ่งเป็นรุ่นยอดนิยมที่ใช้ในรา้นฟิตติ้งไม้กอลฟ  ราคาสมเหตุสมผล และให้ข้อมูลที่แม่นยำ ให้ข้อมูลลูกกอล์ฟ Ball Data ครบถ้วน ให้ข้อมูล Club Data เช่น Club Head Speed , Spin Loft , Angle of Attack และ ให้กราฟ Speed & Acceleration Profile สำหรับวิเคราะห์ความนิ่งของก้าน ฟิตติ้งก้าน ซึ่งจัดว่าคุ้มค่ามากๆ เนื่องจากโมเดลประหยัด จึงไม่จำเป็นต้องแสดงผลขึ้นจอโปรเจคเตอร์ สามารถใช้ตาข่ายดำซึ่งมีขายทั่วไปในเมืองไทย เป็นฉากรับลูกกอล์ฟ Hitting Net   

     2.1 FlightScope Xi+ ราคา 226,000 บาท

     2.2 ตาข่ายอวนดำ พร้อมโครง งบประมาณ 5,000- 25,000  บาท  ในส่วนของห้องซ้อมไดรฟ ถ้าใครมีหัว D.I.Y. สามารถไปหาซื้อ ท่อพีวีซี ข้อต่อสามทาง ข้องอฉาก มาตัดแล้วประกอบขึ้นเป็นห้อง แล้วแขวนตาข่ายดำ อาจประหยัดงบลงไปอยู่ในระดับไม่เกิน 5,000 บาทได้สบายๆ   แต่ส่วนตัวผม โครงสร้างห้อง อยากให้ทำแบบปลอดภัยกันดีกว่าครับ ด้วยการเสริมเบาะหนังเทียมไว้บริเวณผนังช่วงที่ติดกับตาข่ายรับลูกกอล์ฟ เพื่อใช้บังเสาเหล็กไว้ ไม่ให้เวลาตีพลาดลูกกอล์ฟวิ่งไปชนมุมเสา จะได้ไม่กระดอนเข้าหาตัว ซึ่งอันตรายมากๆ เบาะหนังจะช่วยรับแรงชนลูกกอล์ฟ แล้วเด้งเข้าไปหาตาข่าย ปลอดภัยกว่าครับ 

 

  

   2.3 พรมซ้อมไดรฟ ซึ่งมีให้เลือกหลายเกรด ขึ้นอยู่กับความหนาของหญ้า และแผ่นยางที่นำมาใช้ยึดกับแผ่นหญ้า มีตั้งแต่ระดับราคา 5,000 - 8,900 บาท ตัวที่ผมใช้งานและรู้สึกดีจะอยู่ที่ระดับราคาราว 8,900 บาท เวลาซ้อมแล้วลดแรงกระแทกเวลาซ้อมตีเหล็กหรือเวดจ์ ซึ่งต้องลงเหล็กแบบ Hit Down  ( ในปัจจุบัน มีพรมราคาถูกๆ ไม่ถึง 5,000 บาท เยอะพอสมควร ส่วนตัวไม่แนะนำ เพราะมันบาง และไม่ค่อยซับแรงกระแทกเวลาลงเหล็ก คนซ้อมบ่อยๆ เสี่ยงต่ออาการบาดจ็บได้ง่าย) 

    2.4 หญ้าเทียมสำหรับปูพื้นช่วงระหว่างพรมซ้อมไดรฟกับตาข่าย เพื่อลดการกระดอนของลูกกอล์ฟตอนตกลงพื้น ใช้ประมาณ 16 ตร.ม. งบประมาณคงราวๆ 6-9 พัน น่าจะเอาอยู่

    2.5 IPAD 12,500-14,900 บาท สำหรับใช้ควบคู่กับ FlightScope Xi+

   2.6 ขาตั้งกล้อง พร้อมที่ยึดโทรศัพท์ ของอย่างที่ 6 อาจไม่จำเป็น แต่ผมแนะนำว่า ควรจะมี เพื่อเอาสมาร์ทโฟนมาถ่ายภาพสวิง งบประมาณราว 2-5 พันเท่านั้น  แล้วแต่คุณภาพและขนาดของขาตั้งกล้อง

 

3 ห้องซ้อมพร้อม Simulator ราคาประหยัดที่สุด 

งบประมาณ  480,000 - 700,000 บาท

ขนาดห้อง กว้าง 3.8 เมตร ลึก 6.5 เมตร  สูง 2.9 เมตร (ความสูงวัดจากพื้นพรมถึงเพดาน สำหรับนักกอล์ฟที่สูงไม่เกิน 180 ซม. )

 

 

     ห้องซ้อมพร้อม Simulator เราสามารถใช้โมเดลห้องซ้อมตามข้อ 2 แล้วมาเพิ่มเติมอุปกรณ์เสริมหลัก ๆ 3 เรื่องคือ หนึ่ง Projector แนะนำรุ่นที่มีแสงสว่างมากเพียงพอ และสามารถฉายภาพโดยการวางเฉียงจอได้ เพื่อไม่ให้เงาตัวเองไปโชว์อยู่บนจอ สอง จอ Projector Screen ซึ่งตัวจอที่รับแรงกระแทกลูกกอล์ฟสูงถึง 250 mph ในเมืองไทยไม่มีขาย ต้องนำเข้าจากเมืองนอก และสาม ซอฟท์แวร์ออกรอบ สามารถซื้อได้ที่เวบไซท์ของ TruGolf  

     3.1 FlightScope Xi+ ราคา 226,000 บาท

     3.2 จอ Projector Screen แบบรับความเร็วลูกกอล์ฟได้ 250 MPH ราคา 15,000 - 42,000 บาท 

ส่วนของจอผ้า เท่าที่ผมสำรวจในเมืองไทย ตอนนี้ส่วนใหญ่ดัดแปลงใช้ผ้าในไทยมาตัดเย็บ ข้อดีคือถูก ข้อเสียคือ เวลาลูกชนจอแล้วเด้งออกมาแรง  ส่วนผ้าที่ผมแนะนำให้ลูกค้าใช้อยู่ประจำ จะเป็นของบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านโปรเจคเตอร์โดยเฉพาะ ซึ่งมีผ้าทั้งหมดอยู่ 3 เกรดด้วยกัน ึือ Standars , Preferred และ พรีเมี่ยม ตัวพรีเมี่ยมนี่ใครใช้ก็ติดใจ เพราะมันเด้งน้อยมาก ลูกชนจอแล้วแทบจะไหลลงมาตรงๆ ในแนวดิ่ง เสียงเงียบ และทนทานมากๆ เคยนำผ้านี้ไปเปลี่ยนให้โปรนพ ซึ่งเดิมใช้จอผ้าแบบดัดแปลงเองในไทย จอมี 3 ชั้น ชั้นแรกใช้เพียง 3 เดือนก็ขาด ต้องเปลี่ยนใหม่ แต่จอผ้าเกรดพรีเมี่ยม ใช้มากว่า 1 ปี ยังไม่มีทีท่าว่าจะขาดเลย

 

  

     3.3 โครงเหล็กบุผนังนวมหนังเทียมเพดาน และผนังด้านข้าง 54,000 -80,000  บาท (ควรทำจอให้มีสัดส่วน กว้าง 4 : สูง 3 เพื่อให้เวลาฉายโปรเจคเตอร์ขึ้นจอ จะได้ภาพเต็มพอดี)

 

       จอ Projector เป็๋นหนึ่งในส่วนประกอบที่จำเป็นในการสร้างห้องซ้อมไดรฟที่ต้องการให้ภาพขึ้นจอโปรเจ็คเตอร์ด้วย ปัจจุบันตัว Projector Impact Screen ต้องนำเข้ามาจากเมืองนอก ซึ่งมีอยู่หลายเกรดด้วยกัน เกรดที่ดีที่สุดน่าจะใช้วัสดุ  woven polyester with spacer เป็นชนิดผ้าที่ให้ตัวน้อย ยุบไม่เกิน 1 ฟุต ให้เสียงที่เงียบ และรองรับความเร็วลูกกอล์ฟได้ถึง 250 MPH 

 

     3.4 พรมซ้อมไดรฟ ซึ่งมีให้เลือกหลายเกรด ขึ้นอยู่กับความหนาของหญ้า และแผ่นยางที่นำมาใช้ยึดกับแผ่นหญ้า มีตั้งแต่ระดับราคา 5,000 - 8,900 บาท ตัวที่ผมใช้งานและรู้สึกดีจะอยู่ที่ระดับราคาราว 8,900 บาท เวลาซ้อมแล้วลดแรงกระแทกเวลาซ้อมตีเหล็กหรือเวดจ์ ซึ่งต้องลงเหล็กแบบ Hit Down  ( ในปัจจุบัน มีพรมราคาถูกๆ ไม่ถึง 5,000 บาท เยอะพอสมควร ส่วนตัวไม่แนะนำ เพราะมันบาง และไม่ค่อยซับแรงกระแทกเวลาลงเหล็ก คนซ้อมบ่อยๆ เสี่ยงต่ออาการบาดจ็บได้ง่าย) 

    3.5 หญ้าเทียมสำหรับปูพื้นช่วงระหว่างพรมซ้อมไดรฟกับจอโปรเจคเตอร์ เพื่อลดการกระดอนของลูกกอล์ฟตอนตกลงพื้น ใช้ประมาณ  25 ตร.ม. งบประมาณคงราวๆ 10,000 - 20,000 บาท

     3.6 คอมพิวเตอร์ i3, i5, i7 – 2.0Ghz or faster | 4GB RAM Windows 7 | 8 | 10 25GB free hard drive space nVidia dedicated graphics GTX 460 or higher with minimum 1GB RAM video memory. DVD drive งบประมาณ 40,000 - 60,000 บาท

  3.7 โปรเจ็คเตอร์ความสว่างขนาด 4,000 ลูเมน งบประมาณ 40,000 - 60,000 บาท สามารถตั้งฉายเฉียงไปที่จอได้ 

  3.8 E6 Software  สำหรับโปรแกรม Golf Simulator ใช้ออกรอบได้ งบประมาณ 70,000 บาท มีสนามชั้นนำของโลก 15 สนาม 

Banff Springs Resort
Bay Hill Club & Lodge
The Belfry
Bountiful Golf Club
Castle Pines Golf Club
Firestone Country Club
Harbour Town Golf Links
Mauna Kea Resort
Par Three Ocean
Par Three Mountain
Gleneagles Golf Club
Pinehurst Country Club #2
Bethpage Black
Torrey Pines Golf Club
Troon North Golf Club

 

     3.9 ขาตั้งกล้อง พร้อมที่ยึดโทรศัพท์ ของอย่างที่ 7 อาจไม่จำเป็น แต่ผมแนะนำว่า ควรจะมี เพื่อเอาสมาร์ทโฟนมาถ่ายภาพสวิง งบประมาณราว 2-5 พันเท่านั้น  แล้วแต่คุณภาพและขนาดของขาตั้งกล้อง

 

4 ห้องซ้อมพร้อม ระบบกล้องถ่ายและวิเคราะห์สวิง หรือ เทคโนโลยีวิเคราะห์สวิง ราคาประหยัดที่สุด 

งบประมาณ  530,000 - 960,000 บาท

ขนาดห้อง กว้าง 3.8 เมตร ลึก 6.5 เมตร  สูง 2.9 เมตร (ความสูงวัดจากพื้นพรมถึงเพดาน สำหรับนักกอล์ฟที่สูงไม่เกิน 180 ซม. )

 

     ห้องซ้อมแบบนี้ เราสามารถใช้โครงสร้างราคาเดิมของห้องซ้อมในหัวข้อที่ 3 แล้ว อัพเกรดสเปคต่างๆ ของเครื่องให้สูงขึ้น พร้อมใส่ ระบบกล้องถ่ายภาพวิเคราะห์สวิง
     หากต้องการห้องซ้อมกอล์ฟแบบจริงจัง ควรที่จะเล่น FlightScope รุ่น Xi Tour  ซึ่งให้ข้อมูลทั้ง Ball Data และ Club Data ครบถ้วนทุกข้อมูล ซึ่งตัว Xi Tour  เท่าที่ทดสอบมา หากใช้งาน Indoor โดยติดสติ๊กเกอร์โลหะที่ลูกกอล์ฟจะให้ระยะที่แม่นยำ เทียบเท่าระยะจริงๆ ที่เราตีในสนามกอล์ฟ เหมาะสำหรับการใช้งาน วิเคราะห์สวิงสวิง พัฒนาระยะและทิศทางในการตี การสร้างห้องลักษณะนี้ ผมมีทางเลือกของกล้องให้ 2 แบบ คือ



แบบมืออาชีพแนะนำให้ติดตั้งกล้องถ่ายวีดีโอวงสวิง พร้อมโปรแกรมตัดต่อของ Swing Catalyst ด้วย จะทำให้การซ้อมมีประสิทธิภาพสูงมาก โดยเฉพาะนักกอล์ฟที่ต้องการปรับสวิง การซ้อมใน Indoor มีเทคโนโลยีถ่ายสวิงตัวเอง จะทำให้การปรับวงได้ผลมากๆ  แต่ค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นไปมาก เหมาะสำหรับโรงเรียนสอนกอล์ฟ ซึ่งต้องการความรวดเร็วในการตัดต่อ ฉายไฟล์วีดีโอสวิง ส่วนนักกอล์ฟที่ซ้อมเองในบ้าน แนะนำให้ซื้อแค่กล้อง Live View Golf ราคาราวๆ ตัวละ 12,900 เท่านั้น 

 

   4.1 Xi Tour ราคา 350,000 บาท

 

 

 

    

4.2 จอ Projector Screen แบบรับความเร็วลูกกอล์ฟได้ 250 MPH ราคา 15,000 - 42,000 บาท 

ส่วนของจอผ้า เท่าที่ผมสำรวจในเมืองไทย ตอนนี้ส่วนใหญ่ดัดแปลงใช้ผ้าในไทยมาตัดเย็บ ข้อดีคือถูก ข้อเสียคือ เวลาลูกชนจอแล้วเด้งออกมาแรง  ส่วนผ้าที่ผมแนะนำให้ลูกค้าใช้อยู่ประจำ จะเป็นของบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านโปรเจคเตอร์โดยเฉพาะ ซึ่งมีผ้าทั้งหมดอยู่ 3 เกรดด้วยกัน ึือ Standars , Preferred และ พรีเมี่ยม ตัวพรีเมี่ยมนี่ใครใช้ก็ติดใจ เพราะมันเด้งน้อยมาก ลูกชนจอแล้วแทบจะไหลลงมาตรงๆ ในแนวดิ่ง เสียงเงียบ และทนทานมากๆ เคยนำผ้านี้ไปเปลี่ยนให้โปรนพ ซึ่งเดิมใช้จอผ้าแบบดัดแปลงเองในไทย จอมี 3 ชั้น ชั้นแรกใช้เพียง 3 เดือนก็ขาด ต้องเปลี่ยนใหม่ แต่จอผ้าเกรดพรีเมี่ยม ใช้มากว่า 1 ปี ยังไม่มีทีท่าว่าจะขาดเลย

 

  

     4.3 โครงเหล็กบุผนังนวมหนังเทียมเพดาน และผนังด้านข้าง 54,000 -80,000  บาท (ควรทำจอให้มีสัดส่วน กว้าง 4 : สูง 3 เพื่อให้เวลาฉายโปรเจคเตอร์ขึ้นจอ จะได้ภาพเต็มพอดี)

     4.4 พรมซ้อมไดรฟ ซึ่งมีให้เลือกหลายเกรด ขึ้นอยู่กับความหนาของหญ้า และแผ่นยางที่นำมาใช้ยึดกับแผ่นหญ้า มีตั้งแต่ระดับราคา 5,000 - 8,900 บาท ตัวที่ผมใช้งานและรู้สึกดีจะอยู่ที่ระดับราคาราว 8,900 บาท เวลาซ้อมแล้วลดแรงกระแทกเวลาซ้อมตีเหล็กหรือเวดจ์ ซึ่งต้องลงเหล็กแบบ Hit Down ( ในปัจจุบัน มีพรมราคาถูกๆ ไม่ถึง 5,000 บาท เยอะพอสมควร ส่วนตัวไม่แนะนำ เพราะมันบาง และไม่ค่อยซับแรงกระแทกเวลาลงเหล็ก คนซ้อมบ่อยๆ เสี่ยงต่ออาการบาดจ็บได้ง่าย) 

    4.5 หญ้าเทียมสำหรับปูพื้นช่วงระหว่างพรมซ้อมไดรฟกับจอโปรเจคเตอร์ เพื่อลดการกระดอนของลูกกอล์ฟตอนตกลงพื้น ใช้ประมาณ  25 ตร.ม. งบประมาณคงราวๆ 10,000 - 20,000 บาท

    4.6 คอมพิวเตอร์ i3, i5, i7 – 2.0Ghz or faster | 4GB RAM Windows 7 | 8 | 10 25GB free hard drive space nVidia dedicated graphics GTX 460 or higher with minimum 1GB RAM video memory. DVD drive งบประมาณ 40,000 - 60,000 บาท

  4.7 โปรเจ็คเตอร์ความสว่างขนาด 4,000 ลูเมน งบประมาณ 40,000 - 60,000 บาท สามารถตั้งฉายเฉียงไปที่จอได้ 

 4.8 กล้อง Live View Plus ราคา 12,900 บาท

 

 
 4.9 กล้องถ่ายวีดีโอวงสวิง 2 มุม ซอฟท์แวร์ตัดต่อสวิง Swing Catalyst งบประมาณ 110,000 - 120,000 บาท   

 

4.10  เมื่อมีระบบถ่ายสวิง ก็ต้องมีแสงสว่างที่เพียงพอ โดยในเวบของ Swing Catlyst แนะนำความสว่างภายในห้องควรที่จะมีประมาณ 30,000 ลูเมน ขึ้นอยู่กับขนาดของห้อง ซึ่งไฟถ้าเอาแบบจัดเต็ม ควรจะเป็นฝ่าย LED ที่ใช้ในงานสตูของพวกโปรดักชั่นเฮาส์ มีอย่างน้อย 2 ตัว แต่ให้เพอร์เฟคควรมี สัก 4 ตัว ครับ งบประมาณน่าจะราวๆ 50,000-80,000 บาท 

 

 

5 ห้องซ้อมไดรฟ อุปกรณ์ครบ จัดเต็ม

งบประมาณ  1,400,000 - 1,680,000 บาท

ขนาดห้อง กว้าง 4 เมตร ลึก 9 เมตร  สูง 2.9 เมตร (ความสูงวัดจากพื้นพรมถึงเพดาน สำหรับนักกอล์ฟที่สูงไม่เกิน 180 ซม. )

 

     ห้องซ้อมแบบจัดเต็ม สำหรับนักกอล์ฟที่ต้องการสร้างโรงเรียนสอนกอล์ฟในร่มให้มีอุปกรณ์ไฮเทคครบถ้วน หรือนักกอล์ฟที่ต้องการเครื่องมือไฮเทคครบถ้วนในบ้าน โดยห้องซ้อมลักษณะนี้ แนะนำให้ใช้ FlightScope รุ่น X3 ซึ่งเป็นรุ่นท๊อปสุดของ FlightScope สามารถวิเคราะห์การเล่นลูกสั้น และพัตต์ได้อย่างแม่นยำ มีเทคโนโลยี Image Processing สำหรับวิเคราะห์การกลิ้งของลูกกอล์ฟอย่างแม่นยำ ห้องซ้อมงบประมาณนี้ จะมีทั้ง Launch Monitorวิเคราะห์ไม้กอล์ฟ วิถีลูก , Simulator ออกรอบ  , Biomechanics sensor วิเคราะห์การทำงานของร่างกายขณะสวิง , Pressure Mat วิเคราะห์การถ่ายน้ำหนักขณะสวิง 

    5.1 FlightScope X3 ราคา 590,000 บาท

 

 

    

5.2 จอ Projector Screen แบบรับความเร็วลูกกอล์ฟได้ 250 MPH ราคา 15,000 - 42,000 บาท 

ส่วนของจอผ้า เท่าที่ผมสำรวจในเมืองไทย ตอนนี้ส่วนใหญ่ดัดแปลงใช้ผ้าในไทยมาตัดเย็บ ข้อดีคือถูก ข้อเสียคือ เวลาลูกชนจอแล้วเด้งออกมาแรง  ส่วนผ้าที่ผมแนะนำให้ลูกค้าใช้อยู่ประจำ จะเป็นของบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านโปรเจคเตอร์โดยเฉพาะ ซึ่งมีผ้าทั้งหมดอยู่ 3 เกรดด้วยกัน ึือ Standars , Preferred และ พรีเมี่ยม ตัวพรีเมี่ยมนี่ใครใช้ก็ติดใจ เพราะมันเด้งน้อยมาก ลูกชนจอแล้วแทบจะไหลลงมาตรงๆ ในแนวดิ่ง เสียงเงียบ และทนทานมากๆ เคยนำผ้านี้ไปเปลี่ยนให้โปรนพ ซึ่งเดิมใช้จอผ้าแบบดัดแปลงเองในไทย จอมี 3 ชั้น ชั้นแรกใช้เพียง 3 เดือนก็ขาด ต้องเปลี่ยนใหม่ แต่จอผ้าเกรดพรีเมี่ยม ใช้มากว่า 1 ปี ยังไม่มีทีท่าว่าจะขาดเลย

 

  

     5.3 โครงเหล็กบุผนังนวมหนังเทียมเพดาน และผนังด้านข้าง 54,000 -80,000  บาท (ควรทำจอให้มีสัดส่วน กว้าง 4 : สูง 3 เพื่อให้เวลาฉายโปรเจคเตอร์ขึ้นจอ จะได้ภาพเต็มพอดี)

     5.4 พรมซ้อมไดรฟ ซึ่งมีให้เลือกหลายเกรด ขึ้นอยู่กับความหนาของหญ้า และแผ่นยางที่นำมาใช้ยึดกับแผ่นหญ้า มีตั้งแต่ระดับราคา 5,000 - 8,900 บาท ตัวที่ผมใช้งานและรู้สึกดีจะอยู่ที่ระดับราคาราว 8,900 บาท เวลาซ้อมแล้วลดแรงกระแทกเวลาซ้อมตีเหล็กหรือเวดจ์ ซึ่งต้องลงเหล็กแบบ Hit Down ( ในปัจจุบัน มีพรมราคาถูกๆ ไม่ถึง 5,000 บาท เยอะพอสมควร ส่วนตัวไม่แนะนำ เพราะมันบาง และไม่ค่อยซับแรงกระแทกเวลาลงเหล็ก คนซ้อมบ่อยๆ เสี่ยงต่ออาการบาดจ็บได้ง่าย) 

    5.5 กรีนซ้อมพัตต์ สำหรับปูพื้นช่วงระหว่างพรมซ้อมไดรฟกับจอโปรเจคเตอร์ เพื่อลดการกระดอนของลูกกอล์ฟตอนตกลงพื้น ใช้ประมาณ  25 ตร.ม. งบประมาณ 60,000 บาท       

 

  

    5.6 คอมพิวเตอร์ i3, i5, i7 – 2.0Ghz or faster | 4GB RAM Windows 7 | 8 | 10 25GB free hard drive space nVidia dedicated graphics GTX 460 or higher with minimum 1GB RAM video memory. DVD drive งบประมาณ 40,000 - 60,000 บาท

  5.7 โปรเจ็คเตอร์ความสว่างขนาด 4,000 ลูเมน งบประมาณ 40,000 - 60,000 บาท

   5.8 กล้องถ่ายวีดีโอวงสวิง 2 มุม ซอฟท์แวร์ตัดต่อสวิง Swing Catalyst งบประมาณ 110,000 - 120,000 บาท   

 

 

5.9  เมื่อมีระบบถ่ายสวิง ก็ต้องมีแสงสว่างที่เพียงพอ โดยในเวบของ Swing Catlyst แนะนำความสว่างภายในห้องควรที่จะมีประมาณ 30,000 ลูเมน ขึ้นอยู่กับขนาดของห้อง ซึ่งไฟถ้าเอาแบบจัดเต็ม ควรจะเป็นฝ่าย LED ที่ใช้ในงานสตูของพวกโปรดักชั่นเฮาส์ มีอย่างน้อย 2 ตัว แต่ให้เพอร์เฟคควรมี สัก 4 ตัว ครับ งบประมาณน่าจะราวๆ 50,000-80,000 บาท 

 

   5.10 E6 Software  สำหรับโปรแกรม Golf Simulator ใช้ออกรอบได้ งบประมาณ 70,000 บาท

 

 

 5.11 Boditrak Vector สำหรับวิเคราะห์การถ่ายน้ำหนักในการสวิงแบบเรียลไทม์ ตั้งแต่เริ่มต้นยืนจรดจนตีจบสวิง งบประมาณ 149,000 บาท

 

 

   5.12 mySwing อุปกรณ์วิเคราะห์วิงสวิงแบบ Biomechanics มีเซ็นเซอร์ติดตามอวัยวะต่างๆ ตามร่างกาย 17 จุด และไม้กอล์ฟ 1 จุด สำหรับวิเคราะห์วงสวิงแบบ 3 มิติ งบประมาณ 260,000 บาท

 

   

 

ติดตามข้อมูล ความรู้ต่างๆ จากเรา  
หรือสอบถาม ปรึกษา การสร้างห้องซ้อมได้บ้านได้ที่เบอร์ 0995639293 

 

ผลงานการสร้างห้องซ้อมกอล์ฟ

 

https://www.facebook.com/flightscopethailand/

https://line.me/R/ti/p/%40flightscope

หรือค้นหา ID "@flightscope" ที่ LINE หรือ LINE@ (กรุณาใส่ "@" ด้วย)

#flightscope
#FlightScopeThailand
#FlightDcopeMEVO
#MevoGolf
#GLOF

  

 

 

 

 

กอล์ฟซิมูลเลเตอร์ Simulator Golf GolfSimulator SimulatorGolf Indoor Driving Range ซ้อมกอล์ฟในร่ม 

สอบถามเพิ่มเติม



SOCIAL SHARES

หากบทความนี้มีประโยชน์กับท่านหรือเพื่อนร่วมก๊วน ฝากกดแชร์ที่เครื่องหมาย F ด้านใต้ข้อความนี้ครับ ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่ติดตามอ่านบทความของเรา


COMMENTS

OUR SPONSOR

OUR PARTNERS
  • partner 1
  • partner 2
  • partner 3
  • partner 4
  • partner 5
  • partner 6
  • partner 7
  • partner 8