718 T-MB Best Driving Iron

เรียบเรียงโดย เฉลิมวงศ์ บวรกีรติขจร

27 Nov 2017
  • Shares:

 

     ผมมีโอกาสได้เห็นเหล็กรุ่น T-MB ครั้งแรกมาตั้งแต่โมเดล 716 ซึ่งตอนนั้นในเมืองไทยเอาเข้ามาขายเฉพาะเหล็กยาว จำได้ว่าแค่เห็นก็รู้สึกประทับใจ และเชื่อว่าเหล็กรุ่นนี้น่าจะขายดีตั้งแต่ตอนนั้น ถึงกับโทรไปคุยกับบริษัท Titleist ในเมืองไทยว่า น่าจะเอามาขายทั้งเซต

     มาปีนี้ T-MB ออกโมเดลใหม่ในรุ่น 718 ซึ่งในโลกออนไลน์มีภาพรุ่นนี้ให้เห็นตั้งแต่เมื่อต้นปี ในงาน Japan Golf Fair ซึ่งผมก็ทำเหมือนเดิมคือโทรไปถามบริษัท Titleist ว่าปีนี้จะนำเข้ามาขายในเมืองไทยมั้ย ซึ่งคำตอบคือ เอาเข้ามาขายทั้งเซตแน่นอน และตั้งแต่ต้นปีจนถึงปลายปี ผมก็เฝ้ารอการทดสอบเหล็กรุ่นนี้ อารมณ์คงคล้ายๆ กับ สาวกสมาร์ทโฟน รอ Iphone X ครับ

     ก่อนที่จะมีโอกาสได้ลองประมาณ 2 อาทิตย์ บังเอิญผมไปเจอโปรช้าง ธงชัย ใจดี ที่ลพบุรี โปรช้างบรรยายสรรพคุณเหล็กรุ่นนี้ว่า ดีมาก สปินต่ำ โดยเฉพาะช่วงหลังใบที่ลบเหลี่ยมให้มีความกลมมน ซึ่งทำให้ใบเหล็กตีผ่านหญ้า หรือผ่านรัฟได้อย่างไหลลื่นมากๆ

 

 

 

 

     ตอนที่ผมมีโอกาสเอามาทดสอบ และนำไปออกรอบอยู่ราวๆ 5 ครั้ง พบว่าเหล็กชุดนี้มีความโดดเด่นในการตีเหล็กยาวตั้งแต่เหล็ก 5-7 ซึ่งตีดี ง่ายมาก และได้ระยะทางน่าพอใจ  และที่สำคัญ ผมเพิ่งเข้าใจความหมายที่โปรช้างพูดไว้ว่า มันตีผ่านหญ้าง่ายมากๆ  เพราะจากที่ลองนึกๆ ถึงตอนที่ผมนำเหล็กชุดนี้ไปออกรอบ เหล็ก 5-7 เป็นเหล็กเบอร์ที่ตีออนมากกว่าไม่ออน และจำได้ว่า ทุกๆ ครั้งที่ตี ฟิลลิ่งในการตีมันรู้สึกใบเหล็กผ่านลูกง่ายมาก ได้ระยะทางดี สปินต่ำ สู้ลมดีเยี่ยม

     ในครั้งแรกที่ผมเห็นรูปทรงใบเหล็กรุ่นนี้ รู้สึกเกรงใจรูปทรงใบเหล็กอยู่เล็กน้อย เพราะแม้ว่าเหล็กรุ่นนี้จะมีขนาดใบที่ใหญ่กว่าพวก 718 CB แต่ก็ไม่มากนัก และเมื่อดูในรายละเอียดเรื่องออฟเซ็ตของใบเหล็ก ตัว 718 T-MB มีค่าออฟเซ็ตมากกว่า 718 AP2 และอยู่ในระดับเดียวกับ 718 CB และ 718 MB จัดว่าเป็นค่าออฟเซ็ตระดับเดียวกับเหล็กที่บรรดาโปรชั้นนำนิยมใช้กันอยู่  แต่ด้วยความที่ผมเข้าใจในวิธีการคำนวณค่า M.O.I. ของใบเหล็กเป็นอย่างดี เพราะนั่งคำนวณค่าเหล่านี้ สมัยเรียนวิศวะอยู่บ่อยๆ จึงมั่นใจว่า เหล็กรุ่นนี้แม้ว่าใบจะไม่ใหญ่นัก และออฟเซ็ตจะน้อยก็ตาม แต่มันน่าจะตีไม่ยากนัก เพราะตัวก้อนทังสเทนที่ใส่ลงไปด้านในใบเหล็กมี่น้ำหนักสูงถึง 93.9 กรัม ช่วยทำให้จุดศูนย์ถ่วงของใบเหล็กรุ่นนี้ต่ำ และค่อนไปทางด้านหลัง ทำให้ค่า M.O.I. ของใบเหล็กสูงมาก อาจสูงกว่าเหล็กหลายๆ รุ่นที่ใบใหญ่กว่านี้ด้วยซ้ำไป

 

 

     นี่เป็นข้อดีของการใช้ทังสเทนน้ำหนักมากๆ ถ่วงในใบเหล็ก ทำให้เราสามารถใช้ใบเหล็กขนาดสมส่วน แต่ตีง่ายมากครับ นักกอล์ฟท่านใดที่ยังเกรงใจขนาดของใบอยู่ กลัวจะตียาก อยากให้ลองตีดู โดยอย่าไปมองที่ขนาดของใบ และลองสังเกตผลงานเฉลี่ยดู  ถ้าลองแล้วตีได้ละก็ เหล็กรุ่นนี้จะช่วยให้เกมกอล์ฟในช็อตยาวๆ ตีสนุกมากขึ้นมั่นใจมากขึ้น เหมือนกับที่บรรดาโปรชั้นนำของ Titleist นิยมนำเหล็กรุ่นนี้ไปใช้เป็นเหล็กยาวคู่ใจ

     อ่านข้อมูลโดยละเอียดของเหล็กรุ่นนี้ใน    http://golferdigital.com/article/512/

 

 

เฉลิมวงศ์ บวรกีรติขจร

Chalermwong B.Kajorn

ผู้ดำเนินรายการตอบคำถามอุปกรณ์กอล์ฟ คลื่น FM99 รายการ Golf Trick ทุกวันศุกร์ เวลา 9:00-10:00 น.

 

ติดตามข้อมูล ความรู้ต่างๆ จากเราได้ที่

https://www.facebook.com/GolferOnlineMag/

https://www.facebook.com/cing8333

https://line.me/R/ti/p/%40golferonline

หรือค้นหาเพื่อนใน line โดยคีย์คำว่า @golferonline

27 / 11 / 2017

 

 

  Tags : Titleist Iron Irons  


สอบถามเพิ่มเติม



SOCIAL SHARES

หากบทความนี้มีประโยชน์กับท่านหรือเพื่อนร่วมก๊วน ฝากกดแชร์ที่เครื่องหมาย F ด้านใต้ข้อความนี้ครับ ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่ติดตามอ่านบทความของเรา


COMMENTS

OUR SPONSOR

OUR PARTNERS
  • partner 1
  • partner 2
  • partner 3
  • partner 4
  • partner 5
  • partner 6
  • partner 7
  • partner 8