เพิ่มสปีดด้วยการลด M.O.I.

เรียบเรียงโดย เฉลิมวงศ์ บวรกีรติขจร

05 Sep 2017
  • Shares:

 

     M.O.I. ศัพท์เทคนิคคำนี้หลายคนอาจจะเคยได้ยินบ่อยๆ ว่า เป็นค่าที่แสดงถึงการชดเชยความผิดพลาดของไม้กอล์ฟแต่ละรุ่น แต่ละแบบ หรือ เข้าใจว่าเป็นค่าที่บอกว่าไม้ไหนตีง่าย ไม้ในตียาก

     ศัพท์ M.O.I. ปรากฏตัวครั้งแรก ในยุคที่หัวไม้สี่เหลี่ยมปรากฏตัวขึ้น โดยตอนนั้นไดรเวอร์แบรนด์ NIKE ใช้ตัวเลข M.O.I. มาใช้ทำการตลาด เช่น 5,000 5,300 และ 5,900 g-cm^2

     ศัพท์ M.O.I. ย่อมาจากคำว่า Moment of Inertia แปลเป็นไทยว่า โมเมนต์ความเฉื่อย ซึ่งเป็นศัพท์ที่เรียนกันในวิชากลศาสตร์วัสดุของคณะวิศวกรรม

     โดยค่า M.O.I. ทางวิศวกรรมนั้น จะมี 2 ค่า คือ M.O.I. แบบ Statics จะเป็นค่าคุณสมบัติของวัตถุในการต้านทานโมเมนต์ดัดที่เกิดขึ้นในวัตถุนั้นๆ ส่วน M.O.I. แบบ Dynamics จะเป็นคุณสมบัติของวัสดุในการต้านการหมุนของวัตถุ

     ค่า M.O.I. ที่เราใช้กันในกอล์ฟ จะเป็น M.O.I. แบบ Dynamics ซึ่งเป็นคุณสมบัติในการต้านทานการหมุนของวัตถุรูปทรงใด รูปทรงหนึ่ง

     โดยวิธีการหาค่าของ M.O.I. จะมีตัวแปรเพียงแค่ 2 ตัวเท่านั้นคือ น้ำหนัก และระยะทางของน้ำหนักถึงจุดศูนย์ถ่วง หรือ แกนหมุนที่เรากำลังพิจารณา

M.O.I. = M X R^2

          M = มวลของวัสดุ

            R = ระยะจากมวลนั้นๆ ถึงจุดศูนย์ถ่วง (เพื่อให้เข้าใจง่าย ขอใช้เป็นระยะทางจากมวลถึงจุดหมุน)

 

     ในเรื่องของ M.O.I.นอกจากใช้อธิบายเรื่องการต้านทานการหมุนของวัตถุใดๆ หรือหัวไม้กอล์ฟใดๆ แล้ว ยังใช้ในการอธิบายเรื่องการต้านทานการหมุนของอะไรก็ได้ที่หมุนได้ เช่น

             

    การหมุนตัวของนักสเก็ตน้ำแข็ง จะเห็นว่า เวลาที่นักสเก็ตน้ำแข็งต้องการหมุนตัวให้เร็ว แขนจะอยู่ใกล้กับลำตัว เมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องการชะลอการหมุนหรือหยุดหมุนตัว ก็จะใช้วิธีกางแขนออกมา 

     การหมุนตัวของนักกระโดดน้ำที่ต้องการหมุนให้ได้หลายๆ รอบก่อนลงน้ำ ก็ต้องก้มหัวพับตัว เพื่อลดค่า M.O.I. เพื่อให้หมุนง่ายขึ้น เร็วขึ้น ทำให้มีโอกาสหมุนได้หลายรอบก่อนลงน้ำ สังเกตนักกีฬาเหล่านี้ส่วนสูงไม่มากนัก  

     นักเดินไต่เชือก จะใช้วิธีกางแขนออกมาให้ห่างจากกลางลำตัว หรือใช้วิธีถือไม้ยาวๆ เดินบนเชือกหรือสลิง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการกางแขนออกมา หรือถือไม้ยาวๆ ล้วนเป็นการเพิ่ม M.O.I. ให้สูงขึ้นทั้งหมด ผลของเรื่องนี้ก็คือ  นักสเก็ตน้ำแข็งจะชะลอกการหมุนให้ช้าลงได้ เมื่อกางแขน หรือ นักเดินไต่สลิง ก็จะทรงตัวดีขึ้น เมื่อกางแขนหรือถือไม้ยาวๆ เดินบนสลิง ส่วนนักกระโดดน้ำต้องการลดค่า M.O.I. ทำให้หมุนเร็วขึ้น 

     แม้กระทั่งเรื่องเกี่ยวกับการสวิงกอล์ฟก็สามารถใช้ M.O.I. อธิบายได้ ยังจำสูตรกันได้นะครับ

     M.O.I. = มวล X ระยะทางยกกำลัง 2

     พวกเราคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า การใช้ไม้กอล์ฟที่หนักเกินไป จะไม่สามารถเร่งความเร็วหัวไม้ได้ การเร่งไม่ได้ ก็คือการไม่สามารถหมุนตัวเพื่อสร้างความเร็วหัวไม้ให้สูงสุด ลองดูสูตรการหา M.O.I. ครับ การที่เราเร่งไม่ขึ้นเมื่อใช้ไม้หนัก ก็เพราะค่า M.O.I. รอบแกนลำตัวเรามากเกินไป เลยเกิดการต้านทานการหมุน ให้หมุนยากขึ้น ยิ่งถ้าไม้หนักแล้วยาวด้วย ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะสูตรการหาค่า M.O.I. ระยะทางจะยกกำลัง 2 เวลาที่เราโมไดรเวอร์ให้ยาวขึ้น ถึงต้องลดน้ำหนักหัวไม้ให้น้อยลง เพื่อไม่ให้ M.O.I. ของไม้กอล์ฟมากเกินไป 

     หรือแม้กระทั่งการรักษามุมของข้อมือเราให้ตั้งฉาก หรือเป็นมุมแหลมได้ยิ่งดี จะช่วยทำให้หัวไม้อยู่ใกล้กับแกนหมุน ซึ่งก็คือลำตัวเราครับ เมื่อน้ำหนักหัวอยู่ใกล้แกนลำตัว ค่า M.O.I. ก็จะน้อย ทำให้เราสามารถหมุนตัวได้ง่าย

     ลองคำนวณค่า M.O.I. แบบหยาบๆ ดู สมมุติว่าการที่เราสามารถรักษามุมของข้อมือไว้ได้ และระยะห่างหัวไม้ถึงแกนหมุนมีค่า 60 ซม. น้ำหนักหัวไม้ (ไม่คิดก้าน ) เท่ากับ 200 กรัม ค่า M.O.I. จะเท่ากับ 200 X 60^2 = 720,000 g-cm^2

     ถ้าเราคลายข้อมือเร็ว ระยะห่างหัวไม้ถึงแกนหมุน จะต้องบวกเข้าไปราวๆ เท่ากับความยาวของไม้กอล์ฟ เช่นไม้กอล์ฟยาว 45 นิ้ว ระยะห่างจะเท่ากับ 60+114 = 174 ซม. กรณีนี้ค่า M.O.I. จะเท่ากับ 200 X 1742 = 6,055,200 g-cm^2

     2 กรณีนี้จะเห็นว่า ค่า M.O.I. คิดเฉพาะน้ำหนักหัวไม้ต่างมหาศาล ผมเคยทดสอบให้โปรกอล์ฟที่สามารถรักษามุมข้อมือได้ดีอยู๋แล้ว ให้ตั้งใจคลายข้อมือทันทีที่เริ่มดาวน์สวิง พบว่า ความเร็วหัวไม้สามารถลดลงได้สูงสุดถึง 10 MPH ครับ

    ฉะนั้นนี่เป็นเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถอธิบายไว้เป็นตัวเลขได้ว่า การที่เราคลายข้อมือเร็วจะเป็นการเพิ่มค่า M.O.I. ให้สูงขึ้นมหาศาล ซึ่งจะส่งผลให้การหมุนตัวในการสวิงขาดประสิทธิภาพ และไม่สามารถสร้างความเร็วหัวไม้ได้สูงสุดอย่างที่เราต้องการครับ

     ดังนั้นถ้าเราอยากฝึกเพิ่มความเร็วหัวไม้ ก็ต้องพยายามฝึกเรื่องการรักษามุมของข้อมือดูครับ ซึ่งวิธีการฝึกสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์นี้  

http://pronopp.blogspot.com/2017/08/lag.html

 

เฉลิมวงศ์ บวรกีรติขจร

Chalermwong B.Kajorn

ผู้ดำเนินรายการตอบคำถามอุปกรณ์กอล์ฟ คลื่น FM99 รายการ Golf Trick ทุกวันศุกร์ เวลา 9:00-10:00 น.

14 / 9 /2559

https://www.facebook.com/GolferOnlineMag/

Official Line : @golferonline

Tags : ตีไกล , ไดรฟ 300 หลา , เทคนิคตีไกล , ไดรเวอร์ , Driver , Drivers , Wood , Woods , หัวไม้ , หัวไม้ 1 , FlightScope , LongestDrive , Longest Drive , Long Drive , LongDrive Power PowerTips Power Tips PowerTip PowerTip

 

 




SOCIAL SHARES

หากบทความนี้มีประโยชน์กับท่านหรือเพื่อนร่วมก๊วน ฝากกดแชร์ที่เครื่องหมาย F ด้านใต้ข้อความนี้ครับ ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่ติดตามอ่านบทความของเรา


COMMENTS

OUR SPONSOR

OUR PARTNERS
  • partner 1
  • partner 2
  • partner 3
  • partner 4
  • partner 5
  • partner 6
  • partner 7
  • partner 8