BodiTrak เทคโนโลยีเปลี่ยนสวิง เพิ่มพลังไดรฟแบบเร็วทันใจ

เรียบเรียงโดย เฉลิมวงศ์ บวรกีรติขจร

14 Jun 2017
  • Shares:

 

     ผมจำได้ว่า เห็นบทความงานวิจัยการถ่ายน้ำหนักระหว่างสวิงครั้งแรก ในนิตสารกอล์ฟไดเจสต์ราว 10 ปีที่แล้ว ช่วงที่เข้ามารับบทบาท บรรณาธิการบริหารนิตยสารกอล์ฟเฟอร์ออนไลน์ แม้ว่านิตยสารนี้จะเป็นคู่แข่งทางธุรกิจของผม แต่ผมก็มักอ้างอิงองค์ความรู้ต่างๆ ทุกครั้งที่นำเอาบทความนั้นมาเล่าสู่ผู้อ่าน หรือ ผู้ฟังในรายการ FM99

     เราต้องยอมรับอย่างนึงว่า ยังไงบางเรื่องฝรั่งก็มีความรู้ หรือมีเครื่องมือในการพิสูจน์ และคิดค้นทฤษฎีต่างๆ มากกว่าเรา

     บทความนั้น เท่าที่จำได้ลางๆ คือว่า การถ่ายน้ำหนักช่วงดาวน์สวิง พบว่า น้ำหนักตัวของนักกอล์ฟจะมาโหลดเข้าที่เท้าซ้ายราวๆ 80% ของน้ำหนักตัวตอนอิมแพค และยิ่งน่าประหลาดใจคือว่า น้ำหนักที่เกิดขึ้นที่เท้าซ้าย มีค่ามากกว่าน้ำหนักตัวของตัวเองเสียอีก ผมจำไม่ได้ว่ามีค่าประมาณเท่าไหร่ แต่ช่วงนั้น ทฤษฎีนี้โด่งดังมาก จนมีการคุยต่อๆ กันไปว่า น้ำหนักที่เกิดขึ้นที่เท้าซ้ายมากถึง 3 เท่าของน้ำหนักตัว โอ้วแม่เจ้า ถ้าน้ำหนักตัว 80 กก. ตอนอิมแพคมันจะมาถึง 240 กก.เลยหรือ สมัยผมเรียนโยธา Impact Load ที่ใช้คำนวณรถวิ่งบนสะพานมันก็ 1.3 เท่าเองนิ 

 


     ตอนนั้นจำได้ว่า ผมนั่งนึกวิธีเช็คน้ำหนักตามองค์ความรู้นี้อยู่หลายวิธี เอาตาชั่งมา 2 ตัว เอากล้องวีดิโอถ่าย แล้วค่อยมาสโลว์ดู เป็นต้น แต่ก็ล้มเลิกความตั้งใจไป เพราะยังไง เราก็ไม่น่าจะได้ตัวเลขที่เป๊ะมาก รู้ไปก็ยังไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์อะไรได้

     จนวันนึง ก็ไปค้นเจอเครื่องมือที่ชื่อว่า Force Plate เห็นแล้วของขึ้น อยากจะได้ อยากจะเอา แต่พอเช็คราคาไป 3 แสนกว่า ถอยดีกว่า!!!

 

    ตอนนั้นเรายังมีความเข้าใจว่า เครื่องมือตัวนี้ แค่เช็คเรื่องการกระจายน้ำหนัก ซ้าย ขวา ปลายเท้า ส้นเท้า เท่านั้น ไม่ได้ศึกษาอะไรเพิ่มเติม แค่เห็นราคาแล้วถอยก่อน เพราะใน Waiting List เรา ยังมีทั้ง FlightScope และ SAM PuttLab ที่จ้องจะซื้ออยู่ ตัว Pressure Mat นี้อยู่ใน Priority ลำดับที่ 3

     เมื่อช่วงเดือนก่อน ผมมีโอกาสได้ลองตัว Pressure Sensor GolfMat ศัพท์วิชาการของเจ้าอุปกรณ์ชนิดนี้ ตัวที่ผมลองมีชื่อว่า BodiTrak ซึ่งผมนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยด้วย เพราะเห็นราคาแล้ว มันโดนใจ น่าใช้มากๆ

 

     ตอนที่ผมลอง มีโปรนพคุณ วงศ์หล่อ เป็นคนอธิบายให้ฟัง โปรนพ ณ เวลานี้ ต้องยอมรับว่า เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญระดับสูง อันดับต้นๆ  ในการอ่านกราฟ และค่าที่แสดงออกมาจากเจ้าเทคโนโลยีนี้

 

 

     การแสดงผลของเครื่องนี้ นอกจากมีค่าตัวเลขต่างๆ  4 จุดหลักๆ คือ ปลายเท้า ซ้ายและขวา ส้นเท้า ซ้ายและขวา และยังมีกราฟยึกๆ ยือๆ อย่างกับหมอดูลายมือ

 

 

 

    แต่ขอโทษครับ เจ้ากราฟยึกๆ ยือๆ กับตัวเลขทั้ง 4 ค่านี้ มันสามารถบอกวิธีการสวิงของเราได้เลย โดยที่ไม่ต้องเงยหน้ามาดู วงสวิงของผมครับ แม่นอย่างกับดูลายมือ ทำนอง ดูเส้นสมองรู้เลย คนๆ นี้ฉลาดระดับไหน....


     ทำไม เป็นแบบนั้น!!!

     เรื่องนี้ผมต้องลองคิดทบทวนย้อนไปถึงสมัยเล่นกอล์ฟใหม่ๆ โดย ผมถูกสอนให้ยืนสวิงโดยทิ้งน้ำหนักลงส้นดีกว่าลงปลายเท้า ตั้งแต่วันนั้นมา วงสวิงผมก็ชันมากโดยธรรมชาติ ลองคิดตามหลักฟิสิกส์ประกอบดู ด้วยการยืนแบบนี้ ผมไม่สามารถขึ้นวงสวิงให้เพลนเป็นธรรมชาติหรือแบนไปกว่านี้ได้ เพราะว่า การทำเช่นนั้น จะทำให้จุดศูนย์ถ่วงผมเคลื่อนมาหลังมากขึ้นระหว่างสวิง ผมจะเสียสมดุลยไปด้านหลังมากๆ  ด้วยสัญชาติญาณนักกีฬาเก่า ผมจึงพยายามรักษาสมดุลยในการยืนสวิงโดยการปล่อยให้สวิงชันไป เพื่อไม่ให้น้ำหนักมันล้นมาทางด้านหลัง

     จำได้ว่า ตอนเข้าไปยืนที่ BodiTrak ครั้งแรก ผมมั่นใจว่า ณ ปัจจุบัน ผมยืนลงน้ำหนักกลางเท้าแน่ๆ มั่นใจสูงมาก แต่ค่าที่เครื่องแสดงออกมาคือ น้ำหนักผมลงไปที่ส้น 70% ปลายเท้า 30% ครับ

     โปรนพบอกให้ผมลองยืนใหม่ ให้น้ำหนักตัวเข้าไปกลางเท้ามากขึ้น ผมยืนดูค่าตัวเลขที่ขึ้นมาที่จอมอนิเตอร์ เอนเอียง หน้าๆ หลังๆ จนได้ตัวเลขที่ต้องการ

    ผลคือ ผมไม่เคยมีความรู้สึกแบบนี้มาก่อนเลย อย่างน้อยก็ในรอบ 8 ปีนี้  ความรู้สึกนี้ไม่เคยมีในหัวสมองเลย และเจ้าท่ายืนนี้ คือท่ายืนที่โปรในทัวร์เค้ายืนกัน กำๆๆๆ

 

 

     หลังจากนั้นผมก็พยายามขึ้นแบ็คสวิงแบบเดิม มันขัดความรู้สึกมากๆ ไม่สบาย และมีอาการเสียสมดุลยนิด ๆ เพราะเมื่อผมทิ้งน้ำหนักเข้ากลางมากขึ้น เมื่อขึ้นสวิงชัน จุดศูนย์ถ่วงผมก็จะเสียศูนย์ไปข้างหน้า ผลคือเราต้องเกร็งเท้าเพื่อขึ้นสวิงเดิม แต่มันก็ไม่ดี และตีหลังลูกครับ

     โปรนพบอกให้ผมแบ็คสวิงแล้วให้รู้สึกว่า น้ำหนักมาลงส้นเท้า ยอมรับเลยว่า ด้วยการยืนแบบนี้ แล้วขึ้นแบ็คสวิงให้รู้สึก หรือให้ตัวเลขบนจอมอนิเตอร์แสดงค่าว่า แบ็คสวิงสูงสุด น้ำหนักผมเข้าไปที่ส้น ผลปรากฎว่า ขึ้นสบาย และสามารถสร้างวงสวิงให้แบนลงได้ครับ

     หลังจากนั้นโปรนพ ก็โชว์ให้ดูว่ารูปแบบการถ่ายน้ำหนักที่ผิดพลาดของนักกอล์ฟสมัครเล่นเป็นอย่างไร และโปรในทัวร์เป็นอย่างไร โปรนพแนะนำเทคนิคเล็กๆ น้อย ๆ ประกอบกับการดูค่าตัวเลขและเส้นยึกๆ ยือๆ ที่จอ จำได้ว่า ตอนที่รูปแบบการถ่ายน้ำหนักไปตรงกับรูปแบบของโปรในทัวร์ มันแน่นมากๆ ฟิลลิ่งดีมากๆ วงสวิงลื่นไหลมากๆ และรู้เลยว่า ถ้าเคยชินกับรูปแบบนี้เมื่อไหร่ ใส่สวิงเต็มที่ได้แน่นอน

     ระหว่างการใช้ BodiTrak เราไม่ได้คุยกันถึงวิธีการเคลื่อนที่ของอวัยวะชิ้นเล็กๆ เลย เราเน้นอวัยวะก้อนใหญ่เช่น ลำตัว สะโพก การถ่ายน้ำหนัก ถ้าหากทำได้ตามค่า ตามกราฟรูปแบบของโปรในทัวร์ สวิงมันเปลี่ยนได้เองครับ สนุกมากจริงๆ กับการใช้เจ้า BodiTrak ในการซ้อมสวิงครับ ยอมรับว่าดีมากๆ

     ถ้าใครสนใจเจ้า BodiTrak ก็ลองไลน์มาพูดคุยเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @flightscope

     ผมนำเจ้าตัวนี้เข้ามาขายเอง ปัจจุบันราคา 149,000 บาท ก็ถูกกว่าราว 50% เทียบกับสมัยที่ผมอยากได้เจ้าตัวนี้เมื่อ 8 ปีที่แล้วครับ

 

 

    

เฉลิมวงศ์ บวรกีรติขจร

Chalermwong B.Kajorn

ผู้ดำเนินรายการตอบคำถามอุปกรณ์กอล์ฟ คลื่น FM99 รายการ Golf Trick ทุกวันศุกร์ เวลา 9:00-10:00 น.

 

ติดตามข้อมูล ความรู้ต่างๆ จากเราได้ที่

https://line.me/R/ti/p/%40flightscope

หรือค้นหา ID "@flightscope" ที่ LINE หรือ LINE@ (กรุณาใส่ "@" ด้วย)

https://www.facebook.com/flightscopethailand/
 

 

14 / 6 / 2017

 

 

  Tags :  Golf Simulator ห้องซ้อมไดรฟ Launch Monitor Trackman FlightScope เครื่องวัดความเร็ว เครื่องวิเคราะห์สวิง 

 


สอบถามเพิ่มเติม



SOCIAL SHARES

หากบทความนี้มีประโยชน์กับท่านหรือเพื่อนร่วมก๊วน ฝากกดแชร์ที่เครื่องหมาย F ด้านใต้ข้อความนี้ครับ ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่ติดตามอ่านบทความของเรา


COMMENTS

OUR SPONSOR

OUR PARTNERS
  • partner 1
  • partner 2
  • partner 3
  • partner 4
  • partner 5
  • partner 6
  • partner 7
  • partner 8